ชุดตรวจhiv ชุดตรวจhiv เติมเกมฟีฟาย
กีฬากระโดดน้ำ

ประวัติกีฬากระโดดน้ำ กีฬาที่ใช้ท่าทางที่สวยงาม คล้ายกับยิมนาสติก บนผิวน้ำ

ประวัติกีฬากระโดดน้ำ การเดิมพันด้วยถ้วงท่า

จากหลักฐานที่พบตั้งแต่ยุคที่มีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกสมัยโบราณ เชื่อว่าการกระโดดน้ำในสมัยนั้นน่าจะเป็นรากฐานของกีฬากระโดดน้ำในปัจจุบัน นอกจากนั้นเรายังพบหลุมฝังศพดึกดำบรรพ์ที่มีอายุราว 2,500 ปีมาแล้ว ในเมืองนาโปลี ประเทศอิตาลี ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามนุษย์ได้กระโดดน้ำจากแท่นแคบๆที่ตั้งอยู่บนที่สูง ไม่ว่าจะเป็นหน้าผาหรือสะพาน โดยความลึกของน้ำที่อยู่ข้างล่างนั้นไม่มีใครยืนยันได้ว่ามีความลึกเท่าไร นอกจากนั้นยังมีตำนานการกระโดดน้ำจากหน้าผาอากาปุลโก (Acapulco) เมืองท่าชายทะเลที่อยู่ทางฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกของประเทศเม็กซิโก

อังกฤษถือเป็นชาติแรกที่จัดการแข่งขันกระโดดน้ำขึ้นอย่างจริงจัง ในปี ค.ศ. 1880 ในสมัยนั้นยังใช้บ่อน้ำเป็นสถานที่แข่งขันซึ่งมีความลึกไม่มากนัก การแข่งขันเป็นไปอย่างทุลักทุเล นอกจากนักกระโดดน้ำจะต้องรอให้ฝูงเป็ดผ่านไปก่อนจึงจะเริ่มกระโดด บางครั้งนักกระโดดน้ำยังพุ่งทะลวงลึกลงไปจนถึงก้นบ่อและกลับขึ้นมาบนผิวน้ำด้วยเนื้อตัวที่เต็มไปด้วยสวะปฏิกูล รวมทั้งเศษกระป๋องนมเนยพัลไปหมด ระยะแรก การกระโดดน้ำยังไม่มีท่าที่พลิกแพลงไปมากกว่าการกระโดดพุ่งเข้าไปข้างหน้าให้ลำตัวตั้งตรงและเอาศีรษะลงน้ำก่อน แต่ต่อมานักยิมนาสติกชาวสวีเดนและเยอรมนีเริ่มนำท่าแปลกๆใหม่ๆเข้ามาใช้ เช้น การตีลังกา (Somersault) หรือการทำเกลียว(Twist) ก่อนที่ลำตัวจะถึงผิวน้ำ ซึ่งท่าเหล่านั้นก็เป็นที่ฮือฮาเรียกความสนใจจากผู้ชมได้เป็นอย่างมาก ทำให้กีฬากระโดดน้ำกลายเป็นกีฬายอดฮิตและเรียกกันติดปาก ตั้งแต่นั้นมาจนถึงต้นศตวรรษที่ 20 ว่ากีฬากระโดดน้ำลีลา (Fancy Diving)

กีฬากระโดดน้ำได้ถูกบรรจุในการแข่งขันในโอลิมปิกฤดูร้อนตั้งแต่ปี ค.ศ. 1904 โดยในระยะแรกจะแข่งขันเฉพาะในนักกระโดดน้ำชาย ต่อมาแพร่หลายไปทั่วโลก เกิดการพัฒนาปรับปรุงท่ากระโดดใหม่ ๆ รวมถึงการนำแพลตฟอร์มและสปริงบอร์โมใช้ในการแข่งขัน จากนั้นในปี ค.ศ. 1912 ผู้หญิงก็มีโอกาสแข่งขันกีฬาชนิดนี้ในที่สุด

หลังปี 1924 จนถึงปัจจุบัน การกระโดน้ำไม่ได้เปลี่ยนรูปแบบมากนัก จนกระทั่งกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2000 ที่ซิดนีย์ ได้บรรจุรายการกระโดดน้ำคู่เข้าไปด้วย เรียกว่า ซิงโครไนซ์ ไอวิ่ง ซึ่งมีลักษณะเหมือนการกระโดดน้ำประเภทเดี่ยว ต่างที่นักกระโดดน้ำทั้งสองคนต้องทำทุกอย่างให้พร้อมกัน

 

กีฬากระโดดน้ำ

เจ้าหน้าที่

ประกอบด้วยกรรมการผู้ชี้ขาด กรรมการตัดสิน กรรมการให้คะแนน (5-7 คน) และเลขานุการอีก 2 คน กรรมการตัดสินมีหน้าที่ควบคุมการแข่งขันให้เป็นไปโดยเรียบร้อย ส่วนเลขานุการจะคอยบันทึกผลการแข่งขันอยู่ตลอดเวลา กรรมการให้คะแนนนั้นควรจะแยกกันนั่ง โดยทั่วไปควรให้นั่งทั้งสองข้างของกระดานโดด

กติกา

กระโดดน้ำ (Diving) เป็นกีฬาชนิดหนึ่งที่มีการแข่งขันทั้งประเภทชายและประเภทหญิง โดยผู้แข่งขันจะต้องกระโดดบนกระดานสปริงกระโดด (Springboard) และกระดานกระโดด (Highboard) ทั้งท่าบังคับและท่าเลือก ผู้แข่งขันที่ทำคะเเนน รวมจากการกระโดดได้มากที่สุดคือผู้ชนะ

 

การแข่งขันกระโดดน้ำ

ในกรณีที่มีผู้เข้าแข่งขันเกิน 16 คน จะต้องจัดให้มีการแข่งขันรอบแรกขึ้นสำหรับประเภทสปริงบอร์ด จะกระโดดแข่งขันทั้งประเภทท่าบังคับและท่าเลือก รวม 11 ท่า สำหรับประเภทชาย และ 10 ท่าสำหรับประเภทหญิง ส่วนประเภทไฮบอร์ด จะกระโดดแข่งขันรวม 10 ท่าสำหรับประเภทชาย และ 8 ท่าสำหรับประเภทหญิง

ในการแข่งขันรอบสุดท้ายทั้ง 2 ประเภทจะทำการกระโดดแข่งขันเช่นเดียวกับรอบแรก ผู้เข้าแข่งขันที่ทำคะแนนได้สูงสุด 8 คนแรกจากการแข่งขันในรอบแรกจะมีสิทธิ์เข้าแข่งขันในรอบสุดท้าย

อุปกรณ์กระโดดน้ำ

ประกอบด้วยกระดานกระโดด และกระดานสปริง กระดานกระโดยทั้งสองแบบมีระดับความสูงที่แตกต่างกันและต้องมั่นคงแข็งแรง ส่วนแผ่นกระดานสปริงจะต้องอยู่เหนือระดับน้ำ 1 และ 3 เมตร แผ่นกระดานทำด้วยวัสดุที่ไม่ลื่น โดยสปริงบอร์ดทั่วไปสูง 1 หรือ 3 เมตร และมีที่รองรับคานซึ่งสามารถปรับให้กระดานอ่อนหรือแข็งก็ได้ตามน้ำหนักของผู้เข้าแข่งขัน

 

กีฬากระโดดน้ำ

ข้อพึงปฏิบัติก่อนการแข่งขัน

ก่อนเริ่มทำการแข่งขัน ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนจะต้องแจ้งกับเลขานุการพร้อมทั้งกรอกรายละเอียดและข้อมูลเกี่ยวกับท่ากระโดดในแบบฟอร์มที่จัดไว้ให้การกระโดดสามารถทำได้ใน 3 ลักษณะคือ แบบตัวตรง แบบพับเอว และแบบกอดเข่า หรือหมุนเกลียว

กลุ่มต่าง ๆ ของท่ากระโดดน้ำ

  1. กระโดดหน้า (Forward dives)
  2. กระโดดหลังหัวลง (Backward dives)
  3. กระโดดหน้าพุ่งหลาวหลัง (Reverse dives)
  4. กระโดดหน้าพุ่งหลาวหน้า (Inward dives)
  5. กระโดดหน้าบิดตัวครึ่งรอบ (Twist dives)
  6. กลับหัวกระโดด (Armstand dives)

สปริงบอร์ดหญิง ประกอบด้วยท่าบังคับ 5 ท่าเช่นเดียวกับประเภทชาย และท่าเลือก 5 ท่า ซึ่งเลือกจาก 5 กลุ่ม เช่นเดียวกัน

ไฮบอร์ดชาย ประกอบด้วยท่ากระโดด 4 ท่า ซึ่งเมื่อรวมค่าระดับความยากแล้วไม่เกิน 7.6 และท่าเลือกอีก 6 ท่า โดยไม่มีข้อจำกัดในแต่ละกลุ่มที่ต่างกัน การกระโดดต้องเลือกกระโดดจากระดับกลาง หรือระดับ 10 เมตร

ไฮบอร์ดหญิง ประกอบด้วยท่าเช่นเดียวกับประเภทไฮบอร์ดชาย ยกเว้นท่าเลือกที่ไม่มีข้อจำกัด และจะกระโดดเพียง 4 เท่า

 

ตำแหน่งเริ่มกระโดด

ผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกตำแหน่งเริ่มกระโดดจากท่ากระโดดหลังหัวลง กระโดดหน้า หรือกลับหัวกระโดดก็ได้

ท่ากระโดดหน้า ผู้เข้าแข่งขันอาจยืนอยู่กับที่หรือวิ่งกระโดดก็ได้

ท่ายืนกระโดด ผู้เข้าแข่งขันจะยืนที่ริมขอบของกระดานกระโดดหรือแท่นกระโดด โดยยืนตรงแขนเหยียดตรงข้างลำตัว หรือชูตรงขึ้นเหนือศีรษะ การเหวี่ยงแขนจะเริ่มเมื่อการกระโดดเริ่มต้น

ท่าวิ่งกระโดด การกระโดดจากท่าวิ่งกระโดด จะเริ่มเมื่อผู้เข้าแข่งขันพร้อมที่จะก้าววิ่งในก้าวแรก

กีฬากระโดดน้ำ

 

ประเภทการแข่งขัน

สปริงบอร์ดชาย ประกอบด้วยท่าบังคับ 5 ท่า และท่าเลือก 6 ท่า ซึ่งเลือกจากกลุ่มต่าง ๆ ในการกระโดด 5 กลุ่ม ท่าบังคับ ได้แก่ ท่ากระโดดหน้า กระโดดหลังหัวลง กระโดดหน้าพุ่งหลาวหลัง และกระโดดหน้าบิดตัวครึ่งรอบ

 

การลอยตัว

ท่าตรง : เข่าหรือสะโพกจะต้องไม่โค้งงอ เท้าจะต้องชิดกัน และปลายเท้าเหยียดตรง

ท่าพับเอว : สะโพกต้องโค้งงอ ขาตรง เข่าตรง และปลายเท้าเหยียดตรง

ท่าม้วนตัว : เข่าชิด มือจับอยู่ที่ส่วนล่างของหน้าขา และปลายเท้าเหยียดตรง

ท่าตีลังกา : ร่างกายจะต้องอยู่ในท่าเหยียดตรง เพื่อจะสามารถตีลังกาครึ่งตัวได้

ท่ากระโดดพร้อมการบิดตัว : ในท่ากระโดดตรงที่มีการบิดตัว การบิดตัวต้องไม่ทำบนกระดานกระโดด ในท่าพับเอวที่มีการบิดตัว การบิดตัวจะทำหลังจากท่าพับเอว ส่วนในท่าตีลังกาที่มีการบิดตัว การบิดตัวจะทำขณะใดก็ได้ ซึ่งการบิดตัวต้องอยู่ภายใน 90 องศา มิฉะนั้นจะถือเป็นกระโดดเสีย

 

การวิ่ง

ในการวิ่ง ผู้เข้าแข่งขันจะต้องวิ่งตรงตลอด และไม่ลังเล การวิ่งก่อนการกระโดดจะต้องวิ่งอย่างน้อย 4 ก้าว รวมทั้งก้าวที่เป็นท่ากระโดด ซึ่งอาจจะเป็นเท้าเดียวหรือสองเท้าก็ได้ ซึ่งการกระโดดจะต้องใช้กำลังส่งให้สูงพอสมควร และมั่นคง

ในการกระโดดจากท่ายืน ผู้เข้าแข่งขันจะต้องไม่ขย่มกระดานกระโดดและการกลับหัวกระโดดต้องมีการทรงตัวที่มั่นคงในท่าตรง ส่วนการวิ่งกระโดดจากกระดานสปริงต้องกระโดดด้วยเท้าทั้ง 2 ข้างพร้อมกัน แต่ถ้ากระโดดจากกระดานที่ติดแน่นอาจจะกระโดดด้วยเท้าข้างเดียวก็ได้ การตัดคะแนนเกิดจากการเสียทางทรงตัว การกระโดดใหม่ การแตะถูกปลายกระดาน กระโดดออกด้านใดด้านหนึ่งของเส้นทางกระโดด หรือการยกเท้ากระโดด 2 ข้างพร้อมกันเมื่อเตรียมจะกระโดดท่าหันหลัง

 

การลงสู่น้ำ

ในขณะลงสู่น้ำร่างกายจะต้องอยู่ในแนวตรงหรือเกือบตรง และปลายเท้าเหยียดตรง

ท่าเอาหัวลง แขนจะต้องเหยียดเหนือหัว และอยู่ในแนวเดียวกันกับร่างกาย มือจะต้องชิดติดกัน

ท่าเอาเท้าลง แขนจะต้องแนบติดลำตัว และจะถือว่าสิ้นสุดการกระโดด เมื่อร่างกายทุกส่วนจมลงใต้พื้นน้ำ

 

การตัดสินการกระโดด

กรรมการจะพิจารณาคะแนนจากการวิ่ง ท่าออก ท่าลอยในอากาศ และท่าลงสู่น้ำ แต่จะไม่นับท่าเริ่ม

การให้คะแนน

กรรมการให้คะแนนแต่ละคน อาจจะให้เต็มคะแนนหรือครึ่งคะแนนก็ได้ซึ่งนักกีฬาต้องเดิมพันfun88กันอย่างเข้มข้น การกระโดดแต่ละครั้งจะมีคะแนนเต็ม 10 คะแนน เลขานุการจะเป็นผู้จดบันทึกคะแนนในการกระโดดแต่ละครั้ง โดยจะตัดคะแนนที่สูงที่สุดและต่ำที่สุดออก เมื่อรวมคะแนนที่เหลือแล้วจึงคูณด้วยคะแนนระดับความยาก ผลลัพธ์ที่ออกมาจะถือเป็นคะแนนสำหรับการกระโดดครั้งนั้น ๆ ถ้าผู้เข้าแข่งขันกระโดดในท่าอื่น ซึ่งนอกเหนือจากท่าที่ได้ประกาศไว้ ถือว่าไม่ปฏิบัติตามระเบียบ และให้หักคะแนนสูงสุด 2 คะแนน ส่วนท่ากระโดดที่เสียไปโดยเหตุการณ์อื่น ๆ กรรมการตัดสินอาจอนุญาตให้กระโดดใหม่ได้

 

ผลการแข่งขัน

ผู้ชนะการแข่งขัน คือผู้ที่ทำคะแนนรวมในการกระโดดได้มากที่สุด ถ้าได้คะแนนเสมอกัน 2 คน จะตัดสินใจให้เสมอกัน

 

 

เรียบเรียงโดย: mccontent

 

You May Also Like